ชื่อไทย : ทองหลางลาย
ชื่อท้องถิ่น : ทองบ้าน, ทองเผือก(เหนือ)/ ทองหลางด่าง(กทม.) 
ชื่อสามัญ : Indian coral tree/ Tiger Claw/ Variegated coral tree/ Variegated tiger's claw  
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Erythrina variegata L.
ชื่อวงศ์ : PAPILIONACEAE
ลักษณะวิสัย : ไม้ยืนต้น
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ลำต้น :
ไม้ต้นขนาดกลาง สูง 10-25 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดทรงกลมทึบ เปลือกสีน้ำตาลอมเทามีลายสีขาวคล้ายร่องแตกตามแนวยาว ลำต้นและกิ่งมีหนามสั้นสีดำ
ใบ :
ประกอบมี 3 ใบย่อย เรียงเวียนสลับ ใบรูปไข่หรือรูปไข่แกมรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน กว้าง 5-6 ซม. ยาว 6-8 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบมน ใบอ่อนมีขนประปราย ใบแก่เกลี้ยงสีเขียวเข้มเป็นมันมีลายเหลืองตามแนวเส้นใบแผ่นใบหนาคล้ายแผ่นหนัง ขอบใบเรียบ เส้นแขนงใบข้างละ 7-8 เส้น ก้านใบยาวถึง 20 ซม.
ดอก :
สีแสดแดงหรือสีขาว ดอกรูปถั่ว ออกเป็นช่อแบบช่อกระจะขนาดใหญ่บริเวณปลายกิ่ง ช่อดอกยาว 17-47  ซม. ดอกบานเต็มที่กว้าง 7-8 ซม. กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกันปลายแยก 2 แฉก ไม่สมมาตรกัน กลีบดอกสีแดงหรือส้มมี 5 กลีบ เรียงซ้อนทับกัน มีกลิ่นหอมอ่อนๆ
ผล :
เป็นฝักแห้งแตก รูปทรงกระบอก สีน้ำตาลเข้ม ลักษณะเป็นข้อต่อกัน กว้าง 1-2.5 ซม. ยาว 15-45 ซม.  เมล็ด รูปไข่สีน้ำตาลแดง
ระยะติดดอก - ผล :
เริ่มติดดอก : ธันวาคม สิ้นสุดระยะติดดอก : มกราคม
เริ่มติดผล : กุมภาพันธ์ สิ้นสุดระยะติดผล : มีนาคม

สภาพทางนิเวศวิทยา :

นิเวศวิทยา

ถิ่นกำเนิด แทนซาเนีย จีน ไต้หวัน อินเดีย และมาเลเซีย

การกระจายพันธุ์ พบกระจายพันธุ์ในเขตร้อนทั่วไป

การใช้งานด้านภูมิทัศน์ พุ่มใบสีเขียวปนเหลืองสะดุดตา นิยมปลูกให้ร่มเงาในที่กว้าง ลำต้นมีหนามเล็กน้อย เมื่อขุดย้ายจะแตกใบใหม่เร็ว แข็งแรง

 

การปลูกและการขยายพันธุ์ :

สภาพดินทุกชนิด ชอบดินร่วนซุย กลางแจ้ง โตเร็ว ทนลมและทนแล้ง เหมาะจะปลูกริมทะเลหรือที่แห้งแล้ว ถ้าอยู่ในที่แล้งจะทิ้งใบหมดต้น กิ่งค่อนข้างเปราะ

เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง หรือปักชำกิ่ง วัสดุชำต้องชื้นแฉะ

               

รายละเอียดการใช้ประโยชน์ :                 - ใบสดรับประทานได้ แต่ไม่นิยมเท่าใบทองหลางใบมน... [1]

- ใบ แก้เสมหะ แก้ลมพิษ แก้ตาแดง ตาแฉะ และฝ้าฟาง ดับพิษร้อน

- เปลือกและใบ แก้เสมหะและลมพิษ ใช้หยอดตาแก้พิษตาแดง ตาฟาง และตาอักเสบ

- ราก เป็นยาเย็นมีรสเอียน แก้พยาธิในท้อง แก้ตาฟาง แก้เสมหะ แก้ไข้หวัด พอกบาดแผลปวดแสบปวดร้อน และแก้ลม... [2]

- ใบสดรับประทานได้

- ส่วนต่างๆของไม้ชนิดนี้นำมาทำปุ๋ยพืชสด …[3]

แหล่งอ้างอิง : [1] วชิรพงศ์ หวลบุตตา. 2542. ไม้ต้นประดับ เล่ม 1-2. พิมพ์ครั้งแรก. สำนักพิมพ์บ้านและสวน. กรุงเทพมหานคร. [2] วีณา เชิดบุญชาติ. 2543. ปลูกผักไทยได้ทั้งอาหารและยา. พิมพ์ครั้งแรก. สำนักพิมพ์บ้านและสวน. กรุงเทพมหานคร.  [3] เอื้อมพร วีสมหมาย และปณิธาน แก้วดวงเทียน. 2552. ไม้ป่ายืนต้นของไทย 1. พิมพ์ครั้งที่ 2. เอช เอ็น กรุ๊ป จำกัด. กรุงเทพมหานคร. [4] ต้นไม้และดอกไม้ประจำจังหวัด http://www.panmai.com/ 23082553
ประเภทของการใช้ประโยชน์ :
พืชล่อแมลง
ไม้ยืนต้น
พืชสมุนไพร
ที่อยู่ :
หมายเหตุ : ต้นไม้ประจำจังหวัดปทุมธานี
ดอกไม้ประจำมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช มหาวิทยาลัยทักษิณ
รูปพรรณไม้ :
   
Copyright © 2011 Royalpark Rajapruek All rights reserved.
ต.แม่เหียะ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50100
โทร 053-114110-5 แฟกซ์ 053-114196 E-Mail : [email protected]
เริ่มใช้งานระบบเมื่อ 1 มิถุนายน 2554